หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล ไผ่กองดิน ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
 
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่กองดิน
นายกำพล จรุงกิจกุล
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่กองดิน
โทร : 081-909-9286
ศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจในตำบล
วัดราษฎร์บำรุง
วัดฤกษ์บุญมี
วัดทองขาหย่าง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่กองดิน
1
2
3
 
 
 
     
 
 

 
รณรงค์งดการเผาในที่โล่ง  
 

การเผาในที่โล่ง (Open Burning) เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศหลักแหล่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ทางอากาศ ได้แก่ ก๊าซต่างๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ อาทิ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ รวมทั้งฝุ่นละออง ควัน เถ้า ซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผาหญ้า หรือขยะริมทางเส้นทางจราจลเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุบนท้องถนนทำให้สูญเสียชีวิตและ ทรัพย์สินมากมายเนื่องจากหมอกควันที่เกิดไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้การเผากลางแจ้งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดไฟป่าเผาไหม้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่กว้าง ซึ่งการเผาในที่โล่งเกิดจาก 3 กิจกรรมหลัก ดังนี้
    1. การเผาเศษพืชเศษวัสดุภาคการเกษตร
     ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น ในการทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตสูง สิ่งสำคัญที่สุดคือการเตรียมดินที่จะทำการเพาะปลูก ซึ่งจะต้องมีการถากถางพื้นที่เพื่อกำจัดเศษพืช วิธีการที่ง่าย สะดวกและประหยัด สำหรับเกษตรกรที่นิยมใช้กันมาก คือ การเผา
    2. การเผาขยะมูลฝอยจากชุมชน
    3. ไฟป่า
     "ไฟป่า" คือไฟที่เกิดขึ้นจากสาเหตุอันใดก็ตามแล้วลุกลามไปได้โดยอิสระปราศจากการควบคุม ทั้งนี้ไม่ว่าไฟนั้นจะลุกลามเข้าป่าธรรมชาติหรือสวนป่าไฟป่าจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบที่จำเป็น3ประการคือ เชื้อเพลิง ออกซิเจนและความร้อน มารวมตัวกันในสัดส่วนที่เหมาะสมที่จะเกิดการลุกไหม้
   1) เชื้อเพลิงได้แก่ อินทรีย์สารทุกชนิดที่ติดไฟได้ เช่น ต้นไม้ กิ่งไม้ ตอไม้ กอไผ่ ลูกไม้ หญ้า วัชพืช รวมไปถึงดินอินทรีย์ (peatsoil)และชั้นถ่านหินที่อยู่ใต้ ผิวดิน (coal seam)
   2) ออกซิเจนออกซิเจนเป็นก๊าซที่เป็นองค์ประกอบหลักของอากาศทั่วไปในป่า จึงมีการกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมออย่างไรก็ตาม ปริมาณและสัดส่วนอาจแปรผันได้ตามความเร็วและทิศทางลม
   3 )ความร้อนแหล่งความร้อนที่ทำให้เกิดไฟป่า แบ่งเป็น2ประการ คือ แหล่งความร้อนจากธรรมชาติ ได้แก่ ฟ้าผ่า การเสียดสีของกิ่งไม้ การรวมของแสงอาทิตย์ผ่านหยดน้ำค้าง ภูเขาไฟระเบิดและแหล่งความร้อนจากการกระทำของมนุษย์ซึ่งเกิดจากการจุดไฟในป่าด้วยสาเหตุต่าง ๆ กัน

 

ข่าว ณ. วันที่ 11 ส.ค. 2563 เวลา 09.44 น. โดย คุณ กนกรัตน์ ชุ่มวิเชียร

ผู้เข้าชม 1642 ท่าน